วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

จากสัมมนาเรื่องพ.ร.บ. ความผิดคอมฯ 13 ก.ค.


นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ (อ.นิติศาสตร์ จุฬา)
  • เป็นก.ม.นี้ที่พิทักษ์สิทธิของประชาชน
  • นามแฝง ทุกอย่างยังทำได้เหมือนเดิม
  • ตรงกันข้าม นายจ้างเข้าดูอีเมลของลูกค้าผิดก.ม.นี้ (unauthorized access to data)
  • หน่วยงานรัฐก็ดูอีเมล/monitor ท่านไม่ได้ ผิดก.ม.นี้
  • เรื่อง log ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันก็พอ ที่ต้องทำเป็นก.ม.เพราะไปขอ ISP ก็บอกไม่มี ขอบริษัท Mobile Carrier ก็ไม่มี ทำให้ตามจับคนร้ายไม่ได้
  • ดักอีเมล เปลี่ยนแปลงอีเมล ผิด
  • forward mail รูปโป๊ผิด เช่นเดียวกับสิ่งอื่นที่ผิดก.ม.หมาย เพราะถือเป็นการเผยแพร่
  • ผู้ให้บริการจงใจ/สนับสนุน การกระทำผิดของผู้ใช้บริการเท่านั้นถึงจะผิด (ก.ม.อาญาเจตนาเท่านั้นถึงจะผิด)
  • ก.ม.นี้ทำให้เอาผิดการกระทำที่อยู่ต่างประเทศแต่ส่งผลมายังประเทศไทยได้ (เช่น YouTube ที่ไม่ยอมลบคลิป)
  • SPAM 100,000 บาท/ฉบับ

พันตำรวจโทนิเวศน์ อาภาวศิน (รองผู้กำกับการ ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี ตำรวจ forensic)
  • ตามข้อมูลจาก zone-h.org เว็บไซต์โดเมน th นั้น โดน defaced ไปแล้วถึง 3674 เว็บไซต์ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ac.th และ go.th

Q&A
  • มือถือก็จัดเป็นระบบคอมพิวเตอร์
  • ลิ้งค์ไป porn ก็เป็นความผิด (เผยแพร่) (เพราะฉะนั้นคิดได้ว่า ลิงค์ไปอื่นๆที่ผิดก.ม.ก็น่าจะผิด)
  • ชี้ช่องโหว่(vulnerability)ไม่ผิดก.ม.
  • ต่อไป ICT จะประกาศว่า malware ตัวไหนผิดก.ม.บ้าง โดยอันไหนมีประโยชน์ก็จะอนุญาติให้เผยแพร่ได้
  • ใช้ nmap ไม่ผิดก.ม.
  • traffic data ต้องเก็บถึงขนาดไหน ประกาศกระทรวง
  • ข้อมูลบันทึกถึงตัวบุคคล ก็ useraname หรือ IP address เพียงพอ (ตำรวจจะนำไปสืบต่อจาก ISP เอง)
  • Extranet ก็ต้องเก็บ log
  • เรื่อง log (traffic data) ยืดเวลาบังคับเก็บให้ 150 วัน นับจากวันที่ 18 นี้
  • ร้านเน็ทคาเฟ่จะเก็บข้อมูลของผู้มาใช้อย่างไร ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี? => เก็บเบอร์โทรศัพท์โดยเช็คเบอร์โดยโทรมิสส์คอล หรือ ติดกล้องวงจรปิด หรือ ใช้เว็บแคมถ่ายรูปหน้าขึ้นมา
  • ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ทำผิดไม่ต้องกลัว ก.ม.ไม่ได้ให้อำนาจรัฐเรียกตรวจถ้าไม่มีผู้เสียหาย
  • เมลลูกโซ่ผิดไหม? ผิดถ้าเนื้อหาผิด
  • anonymous post ทำได้ตามปกติ ไม่ต้องล็อกอินก็ได้ แต่ผู้ให้บริการต้องเก็บไอพี(และตรวจเช็คเนื้อหา?) มีเรื่องตำรวจจะไปตรวจสอบกับ ISP เอง แต่มีก็สมัครสมาชิกใช้จะดีกว่า เก็บฟรีอีเมลเป็นตัวระบุถูกใช้ก็ยังได้เพราะยังอาจจะขอความร่วมมือระหว่างประเทศได้
  • สแปมเมลผิดก.ม.ก็ต้องเมื่อปกปิดแหล่งที่มาเท่านั้น แต่ไม่ปกปิดก็ผิดก.ม.อาญาอื่นได้ถ้าก่อนความรำคาญ
  • การตรวจเช็คว่าพนักงานบริษัทส่งข้อมูลของบริษัทออกไปภายนอกองค์กรหรือไม่ ผิดไหม? => ผิด (ผิดหลายบท เอาบทหนักสุด) เว้นแต่จะระบุไว้ในสัญญาว่าจ้าง
  • ในกรณีข้างต้นแนะนำให้ว่านายจ้างทำข้อตกลงเหล่านี้กับลูกจ้าง
1. ห้ามเอาข้อมูลส่วนตัวไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท
2. ห้ามเอาข้อมูลบริษัทออกเผยแพร่
3. บริษัทมีสิทธิในการ monitor
  • ต่อไปจะปิด(ชั่วคราว) ISP ต้องมีหมายศาล
  • ทำอย่างไรว่าย้าย data ลงเทปแล้วไม่มีการแก้ไขเนื้อหาจากต้นฉบับ? => ให้ทำ hashing เช่น MD5 หลังเกิดเหตุทันที เพื่อให้เชื่อถือได้ว่าไม่มีการแก้ไข
  • มีสื่อลามกในเครื่องผิดไหม? => ไม่ผิด กลัวคุกไม่พอขัง (ว่างั้น -_-") ผิดเมื่อทำการค้าเท่านั้น (คงหมายถึงเผยแพร่ด้วย)
  • พ.ร.บ.นี้ไม่ย้อนหลัง
  • ให้บริการอะไรก็เก็บ log ของบริการนั้น เช่น FTP ก็ enable FTP log ซะ
  • ในกรณีให้บริการ web server ต้องเก็บ access log ไหม? => ไม่จำเป็น แต่แน่ะนำให้ทำเพื่อตัวเอง เพราะเวลาโดนแฮ็คจะได้มีข้อมูลที่เกี่ยวกับคนร้าย
  • แค่พยายาม hack ผิดไหม? => ผิด
  • outsource ให้บริษัทอื่น แล้วบริษัทอื่นกระทำผิด ผิดไหม? => ผิด ต้องรับผิดชอบทั้งสองบริษัท
  • ตั้งแต่ 18 นี้ ICT จะบล็อกเว็บไม่ได้แล้ว ต้องขอหมายศาล
  • มีปัญหาเป็นผู้เสียหาย ให้ร้องทุกข์กับสถานีตำรวจ ไม่ใช่ ICT
  • มาตรา 16 เท่านั้นที่ยอมความได้ นอกนั้นอาญาแผ่นดิน
  • ผู้ให้บริการจะผิดเมื่อแจ้งแล้วไม่ลบเท่านั้น
ปล. ชอบแบบที่เป็นอยู่ ไม่เรียบเรียงแล้วครับ

๖ ความคิดเห็น:

Sirn กล่าวว่า...

ยังไม่ได้อ่านฉบับเต็มๆ แฮะ แต่คำว่า porn นี่มันระดับไหน? R จัดอยู่ในข่ายมั๊ย หรือกรณีที่ต้องอ้างอิงเว็บนั้นๆ แต่มี Porn-related material ล่ะ

burlight กล่าวว่า...

ก็คงสไตล์ก.ม.ไทยมั้งครับ คือห้ามเห็นหัวนมกับส่วนล่าง R ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่ก็ถ้าเป็นแหล่งรวม R ไม่รู้จะเข้าข่าย "ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม" รึเปล่า

กรณีต้องอ้างอิงเว็บ porn นั้น ก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกันครับ

burlight กล่าวว่า...

อ๋อ... น่าจะอ้างอิงได้นะครับ ถ้าไม่ได้เป็นการเจตนาที่จะเผยแพร่ ก.ม.อาญาต้องจงใจหรือเจตนาเท่านั้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

malware แบบที่มากับ VCD ของบ้างบริษัท ผิดกฏหมายใช่ไหม

burlight กล่าวว่า...

ในกรณี Malware มากับ VCD (เช่น Sony RootKit) น่าจะผิดข้อเข้าระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Unauthorized Access) อย่างไม่ต้องสงสัยครับ (อย่างไรก็ตามเป็นคำตอบจาก logic ของผมเท่านั้น)

burlight กล่าวว่า...

ดูเพิ่มเรื่อง "ค้นได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล?" ได้ที่ ประเทศไทยพัฒนา